หลวงพ่อลอย เจตสิกาโร อดีตเจ้าอาวาสวัดเวียงสระรูปที่ 5
ภูมิลำเนาเดิม เกิดที่ตำบลบ้านส้อง อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี บริเวณที่ตั้งของสำนักงานสาธารณสุขอำเภอเวียงสระ (สุขศาลา) เกิดเมื่อ พ.ศ. 2441 ในสกุล แสงมาก (แสงอนันต์) ได้บรรพชาเป็นสามเณร และได้ไปศึกษาพระธรรม ที่อำเภอพุนพิน ภายใต้การดูแลจากพระยาคงคา เมื่อครบ 22 ปี พ.ศ. 2463 ได้อุปสมบทเป็นพระ และต่อมาได้เป็นเจ้าอาวาสของวัดเวียงสระได้รับสมณศักดิ์ ชั้นพระครูประทวน
อุปนิสัย จะถือวาจาสัตย์เป็นอย่างมาก เป็นพระนักพัฒนา มีวาจาสิทธิ์ท่านถึงแก่มรณภาพ เมื่อ 6 เมษายน 2504 อายุ 63 ปี พรรษา 41 ชาวบ้านจึงสร้างเหรียญที่ระลึกและรูปหล่อเท่าตัวจริงของท่านประดิษฐานไว้ยังมณฑปบริเวณวัดเวียงสระ เพื่อสักการะบูชา เป็นพระเกจิที่มีความศักดิ์สิทธิ์รูปหนึ่ง ที่มีผู้ประสบพบเห็นและได้เล่าขานอยู่เสมอมาจนถึงปัจจุบัน
สร้างขึ้นเพื่อรับเสด็จ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในรัชกาลที่ 9 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร มหาวชิราลงกรณวรราชภักดี สิริกิจการิณีพีรยพัฒน รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี และมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงเสด็จ เมื่อวันที่ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๑๗ ลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยม หลังคาเป็นรูปจัตุรมุข
ศิลปะปัลวะ อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒ สูง ๑๔๘ เซนติเมตร มีลักษณะเป็นประติมากรรม หินสลักรูปพระวิษณุจตุรภุชยืน ๔ กร พระหัตถ์ขวาล่างทรงถือก้อนดิน พระหัตถ์ซ้ายล่างทรงถือคฑาแนบพระองค์ พระหัตถ์บนทั้งสองข้างหักหายไป ทรงสวมกีรฎมกุฎ ซึ่งด้านบนภายออก ทรงภูษาโจงยาวกรอมข้อพระบาท ขมวดเป็นปมใต้พระนาภี และมีผ้าคาดพระโสณีตามแนวนอน พระเนตรเบิก แย้มพระสรวล พระวรกายแสดงกล้ามเนื้อที่ใกล้เคียงกับธรรมชาติ และนาภีที่แอ่นขึ้นและพระปฤษฎางค์ที่เว้าเข้า แสดงเห็นลมปราณของโย
ศิลปะโจฬะ อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๖ สูง ๕๑ เซนติเมตร มีลักษณะเป็นประติมากรรมหินสลักรูปพระศิวะยืนเปลือยกายมีสามตา มีเขี้ยว พระเกศาเป็นเปลวเพลิง สวมสร้อยคอลูกประคำยาวถึงแข้ง สวมสายยัชโญปลีตรูปนาคหรือรูปงู มีสายกฏิสูตรสวมสร้อยคอ ตุ้มหู กำไลมือ กำไลเท้า พระหัตถ์ซ้ายบนถือถ้วยหัวกะโหลก พระหัตถ์ขวาล่างถือบ่วงบาศ พระหัตถ์ขวาบนถือตามรูป(กลองสองหน้าเล็กๆ มีสุนัขอยู่ข้างหลัง)
ศิลปะโจฬะ อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๖ สูง ๕๓ เซนติเมตร มีลักษณะเป็นประติมากรรมหินสลักรูปพระวิษณุยืน พระวรกายค่อนข้างผอม พระโสณีเล็ก พระพักตร์ยาว พระเนตรมองต่ำ พระนาสิกโต พระโอษฐ์หนา พระหัตถ์ขวาบนทรงถือสังข์ พระหัตถ์ซ้ายทรงถือจักร โดยวางไว้บนพระดัชนี และพระมัชฌิมาของพระหัตถ์และเชื่อมกับพระเศียรด้วยแผ่นศิลา พระหัตถ์ขวาล่างทรงแสดงปลงประทานอภัย พระหัตถ์ซ้ายล่างวางพระโสณี ทรงพระภูษาโจงสั้น คาดรัดพระองค์กับสวมกีรฎมกุฎทรงสูง ซึ่งสอบเข้าด้านบนเป็นเครื่องประดับตกแต่งพระวรกาย พร้อมคาดสายยัชโญปวีดาทับสายอุทรพันธะ
พระพุทธรูปหินทราย เป็นพระพุทธรูปรุ่นแรกๆปางประทานพร นูนสูง ศิลปะคุปตะ สกุลช่างสารนาถอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 10 – 11 สูง 16 เซนติเมตร พบจากการสำรวจเมืองโบราณเวียงสระ บริเวณวิหารร้างกลางเมืองเวียงสระ โดย ดร.เอช จี ควอริทช์ เวลส์(Dr. H.G. QuaritehWailes) ชาวอังกฤษ ในปี พ.ศ. 2477 มีลักษณะเป็นประติมากรรมรูปพระพุทธ รูปประทับยืน ท่าตริภังค์(เอียงสระโพก) ครองจีวรคลุมบางแนบพระวรกาย พระหัตถ์ขวาแสดงท่าประทานพร พระหัตถ์ซ้ายและพระบาททั้งสองหักหายไป
สร้างไว้ในวิหารของเมืองในลักษณะพระพักตร์รูปไข่ พระเนตรเหลือบต่ำ แย้มพระสรวลเล็กน้อย ขมวดเกศาเล็ก ไม่มีไรพระศก ครอบจีวรห่มเฉียงเปิดพระอังสาขวา ชายสังฆาฏิยาวถึงพระนาภีส่วนปลายตัดตรง ปางมารวิชัย 7 องค์ ปางสมาธิ 1 องค์ ศิลปะอิทธิพลปาละ อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 15-17
ตั้งอยู่รอบพระอุโบสถ มีลักษณะเป็นเสมาคู่ทำด้วยหินทรายแดงมีลวดลายแกะสลักไว้ ได้รับการบูรณะจากกรมศิลปากรที่ 14 นครศรีธรรมราช ลักษณะที่ควรศึกษาคือ วัดที่มีพัทธสีมาคู่มีน้อยมาก วัดส่วนใหญ่มักจะสร้างเพียง 1 ใบ เท่านั้น
ข้อสังเกตที่มีการสร้าง พัทธสีมาคู่ คือ
1.จะต้องเป็นวัดที่กษัตริย์เป็นผู้สร้าง
2. มีการนับถือพุทธศาสนา 2 นิกาย ของวัดเวียงสระ มีนิกายมหายาน และนิกายเถรวาทลัทธิลังกาวงศ์
ใช้กำหนดเขตเมือง ด้านทิศตะวันออกขุดคูเมืองเชื่อมจากลำน้ำคลองตาล อ้อมไปทางทิศใต้ จดลำน้ำด้านทิศตะวันตก มีคูแบ่งเมืองออกเป็น 3 ส่วน มีประตูเมืองด้านทิศตะวันออก 2 แห่ง ด้านทิศใต้ 1 แห่ง และมีประตูเชื่อมเมืองนอกกับเมืองในอีก ๑ แห่ง
- คูเมืองในมีความกว้าง 4.50 เมตร มีความลึก 1.00 เมตร
- คูเมืองนอกมีความกว้างประมาณ 3.50 เมตร ความลึกเฉลี่ยประมาณ 0.50 เมตร
ด้านทิศเหนือและทิศตะวันตกใช้ลำน้ำคลองตาลเชื่อมกับลำน้ำตาปี
ตั้งอยู่บริเวณพื้นที่เมืองชั้นใน ซึ่งฐานพระนารายณ์ที่พบอยู่กลางเมืองโบราณเวียงสระ เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ลักษณะเป็นฐานอาคารก่ออิฐไม่สอปูน อิฐมีหลายสี หลายขนาดมีการเรียงอิฐ 3 ชั้น มีสภาพชำรุดมากส่วนประกอบการก่อฐานในลักษณะบัวคว่ำ บัวหงาย
จากการขุดสำรวจเมื่อปี 2555 พบประติมากรรมที่เกี่ยวเนื่องในศาสนาพราหมณ์ พระนารายณ์หลายองค์พบพระหัตถ์ขวาบนทำจากหินสีเขียว พบเศียรพระพุทธรูปหินทรายแดงขนาดเล็ก พบอิฐที่กำหนดอายุได้คือ 1815 +/- 121 ปีมาแล้ว หรือ 1360 ปี ถึง 1694 ปี มาแล้วอยู่ในช่วงประมาณพุทธศตวรรษที่ 9 - 10
สร้างขึ้นเพื่อการเคารพบูชาแทนพระพุทธเจ้า หรือเป็นอนุสรณ์ของบุคคลสำคัญประจำเมืองลักษณะการก่อสร้างโดยใช้อิฐดินเผาไม่สอปูนเอาหัวออก สภาพปัจจุบันชำรุดหักพังมาก ยังหารูปทรงและขนาดไม่ได้ กำหนดอายุราวศตวรรษที่ 15
เมืองโบราณเวียงสระ มีสระน้ำอยู่ 2 สระ อยู่ประจำเมืองใน 1 สระ และเมืองนอก 1 สระ เพื่อใช้อุปโภคบริโภคของบุคคลชั้นสูงของเมืองนั้นๆ
สระน้ำแห่งนี้เป็นที่มาของชื่อบ้าน นามเมือง คือ บ้านเวียงสระ ตำบลเวียงสระ อำเภอเวียงสระ
เวียงสระ คือ เมืองที่มีสระน้ำหรือเมืองที่มีสระน้ำล้อมรอบ
สร้างเมื่อ พ.ศ. 2496 ศิลปะต่อมุม 12 เพื่อใช้เป็นสัญญาณเรียกประชุมคณะสงฆ์ เพื่อประกอบพิธีกรรมทางศาสนา
สำหรับประกอบพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา และที่ประชุมของประชาชนในชุมชน ศาลาหลังเดิมสร้างเมื่อใดไม่ปรากฏ ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2496 ได้มีการบูรณะขึ้นใหม่ โดยมีการปรับเปลี่ยนสถานที่เล็กน้อย คือในสภาพเดิมด้านหลังพระวิหารมีพระเจดีย์อยู่ 1 องค์ ตั้งอยู่ตรงตำแหน่งพระพุทธศิลาทรายแดงทั้ง 6 องค์ ในปัจจุบัน เดิมพระพุทธรูปทั้ง 6 องค์ ตั้งอยู่ตรงกลางพระวิหารในปัจจุบัน พระพุทธรูปดังกล่าว กำหนดอายุราวสมัยอยุธยาตอนปลาย ศิลปะตระกูลช่างไชยา
สาเหตุที่ต้องปรับปรุงสถานที่ เนื่องจากพระเจดีย์ได้ชำรุดพังลงมา ภายในพระเจดีย์บรรจุพระพุทธรูปไว้จำนวนมากจึงเคลื่อนย้ายพระพุทธรูปทั้ง 6 องค์ มาตั้งทับพระเจดีย์ไว้
สร้างขึ้นเพื่อใช้เก็บพระไตรปิฎกซึ่งเป็นคัมภีร์ที่สำคัญของพระพุทธศาสนา ควรแก่การเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดีโดยก่อสร้างไว้กลางน้ำป้องกัน หนู มด ปลวก ทำลาย
ลักษณะการก่อสร้างเป็นอาคารสี่เหลี่ยมผืนผ้า ใต้ถุนสูง มีหน้าจั่ว 2 ด้าน มีรัศมีแสงพระอาทิตย์ มีปีกทั้ง 4 ด้าน มีระเบียงรอบ มีสะพานข้าม สามารถดึงกลับเมื่อข้ามเสร็จแล้ว
สร้างเมื่อ พ.ศ. 2465
เป็นสถานประกอบพิธีกรรมทางความเชื่อของคนในชุมชน ซึ่งมีมากกว่า 100 ปี ยามใดที่มีเรื่องทุกข์ร้อนก็จะไปบนบานต่อท้าวอู่ทอง และทำการแก้บน ปีละ 1 ครั้ง ในวัน แรม 2 ค่ำ เดือน 4 ของทุกปี มีมโนราห์รำแก้บน ลักษณะคล้ายการทรงเจ้า เข้าทรง ผู้ที่มาเข้าร่างทรง เช่น ท้าวอู่ทอง พระม่วง พ่อท่านในกุฏิ ตาทวด พรานบุญ แม่แขนอ่อน แม่ศรีมาลา เป็นต้น
อู่เรือหรือท่าจอดเรือ ปรากฏใหญ่ 5 แห่ง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกโดยอาศัยลำน้ำคลองตาลและแม่น้ำหลวงหรือแม่น้ำตาปี ใช้เดินทางติดต่อขนส่งสิ่งของสินค้าระหว่างเมืองเวียงสระกับดินแดนอื่นๆ เช่น จีน เวียดนาม เขมร ศรีสัชนาลัย สุโขทัย เมืองคูบัว ราชบุรี อาหรับ อินเดีย
จากหลักฐานทางโบราณคดีที่พบคือ